สแตนเลส มีกี่ประเภท (STAINLESS STEEL)
Leave a Comment / By จำหน่าย อุปกรณ์สลักภัณฑ์ / 11/10/2022
ประเภทของสแตนเลสนั้นถูกแบ่งออกมาด้วยกัน 5 กลุ่มใหญ่ตามโครงสร้าง แต่ในส่วนคุณสมบัติของสแตนเลส (Stainless) ถูกแบ่งออกมาด้วยกันหลากหลายเกรด มากกว่า 30 เกรด เนื่องจากเนื้องานแต่ละประเภทที่ต้องใช้งานหรือโครงสร้างในการขึ้นรูปที่แตกต่างกันออกไปเลยทำให้ถูกแยกเกรดออกมาค่อนข้างเยอะนั้นเอง
คุณสมบัติของสแตนเลส (Stainless) ถูกแบ่งออกมาดังนี้
- SUS,310S,310,304,304l,316,316l,420,420j2,431,440c,416,430,630,17-4PH
- สแตนเลสเส้น
- เพลาสแตนเลส
- สแตนเลสเส้นกลม
- สแตนเลสเส้นสี่เหลี่ยม
- สแตนเลสแผ่น
- เพลากลมสแตนเลส
- สแตนเลสเส้นแบน
- สแตนเลสแผ่นเรียบ
- แผ่นสแตนเลส
- ตัดแบ่งขายตามขนาด
- สแตนเลสแท่ง
- สแตนเลสแท่งกลม
- สแตนเลสกลม
5 กลุ่มใหญ่ตามโครงสร้างสเตนเลส มีอะไรบ้าง
เนื่องจากคุณสมบัติที่มีความละเอียดค่อนข้างมาก ตามเนื้อหาที่เราเขียนไว้ด้านบนบทความนี้ เลยทำให้เกิดการจัดกลุ่มออกมา เพื่อให้ง่ายต่อการแยกใช้งานง่ายมากขึ้น
1.ออสเทนนิติค (Austenitic) (แม่เหล็กดูดไม่ติด)
เป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก เนื่องจากความสามารถที่ทนต่อการกัดกร่อนของสนิมได้สูง โครงสร้างนั้นได้รับการผสมมาจาก (Fe), โครเมียม ( Cr) นิคเกิล (Ni) โครเมียม (CHROMIUM) และ นิคเกิล (NICKEL) เป็นส่วนประกอบ( Chemical Composition ) ไม่ต้องพูดถึงเรื่องความแข็งเลย เรียกว่าแข็งจนสนิมก็ไม่อยากเข้าใกล้ ตองตระกลู 304 316 321 347 310
2.เฟอร์ริติค (FERRITIC) (แม่เหล็กดูดติดได้)
มีโครงสร้างที่คล้ายกับตัว ออสเทนนิติค (Austenitic) แต่เนื่องจากลดปริมาตรของนิคเกิล อยู่ที่ 10.5-27 เลยทำให้ทนการกัดกร่อนน้อยกว่า ซีรี่ 3 นั้นเอง
3.ดูเพล็กซ์ (Duplex)
ส่วนใหญ่เขตในตัวเมืองที่ไม่ได้อยู่ใกล้กับทะเลจะไม่นิยมใช้สแตเลสเกรดนี้กันเท่าไหร่ เนื่องจากมีราคาที่ค่อนข้างสูง และมันเกินความจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้แถบที่ติดทะเลมากกว่า เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์สูง การกัดกร่อนค่อนข้างแรง มีความแข็งแรงมากกว่าแบบ ออสเทนนิติค (Austenitic) หลายเท่า
4.มาร์เทนซิติค (martensitic) (แม่เหล็กดูดติดได้)
ทนแรงกัดกร่อนได้น้อยกว่าแบบที่ 1 และ 2 แต่มีความแข็งแรงกว่ามาก มีส่วนผสมของโครเมี่ยม (Cr) ระหว่าง 12 – 18% โดยมีเกรด 403, 410, 414,416, 420, 431, 416, 440A/B/C, 501 และ 502 ข้อดีคือสามารถชุบแข็งได้ เลยเหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับ ชิ้นส่วนเครื่องมือ เครื่องจักร
5.เหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก (Hardening Grade) chromium-nickel-copper
แข็งแรงเป็นสองเท่าเทียบกับเกรดออสเทนนิติก แต่จุดเด่นจริงๆอยู่ที่สามารถรวม 2 โครงสร้างหลักเฟอร์ริติก และออสเทนนิติก เข้าด้วยกันได้อย่างพอดีตัว เลยทำให้มีคุณสมบัติเด่น 2 อบ่างในตัวเดียวนั้นเอง
สแตนเลสละเกรด ที่ได้รับความนิยมจริงๆในบ้านเรา
ถึงแม้จะแบ่งออกมาให้เหลือน้อยลงแล้ว แต่ความจริงสแตนเลสที่นิยมใช่อยู่ก็เป็น สเตนเลส ตระกูลออสเทนนิติค (Austenitic) “ซีรี่ส 300” อย่าง สแตนเลสเกรด 304 (SUS 30) / 316 (SUS 316) เนื่องจากสามารถใช้งานได้อยากหลากหลายและกันสนิม
สแตนเลสเกรด 304 (SUS 304)
ด้วยคุณสมบัติเด่นที่สามารถปั้มขึ้นรูปและคงรูปทรงในแนวตั้งได้ดี จึงได้รับความนิยมอย่างมากในงาน บานพับ ลูกบิดประตู รวมถึงงานทำอุปกรณ์เสริมปลอดภัย เป็นต้น
สแตนเลสเกรด 316 (SUS 316)
จะเห็นเกรดนี้อยู่ในงานที่ต้องการความทนทานต่อการกัดกร่อนสูง อย่างการทำเรือ หรือ เครื่องมือทางการแพทย์ เนื่องจากถูกผสมโครงสร้างเข้ามาใหม่ โดยการใช้สารโมลิดินั่ม เพิ่มเข้าไป เลยทำให้ตัว 316 ทนการกัดกร่อนมากกว่า 304 นั้นเอง
สแตนเลสเกรด 430 (SUS 430)
เหมาะสำหรับทำอุปกรณ์ชุดครัวในเรื่องการตัดหั่นต่าง ๆ เช่น ทำมีดต่าง ๆ หรือที่วางเตาแก๊ส เป็นต้น เพราะว่าต้องการความแข็งแรงมากกว่าความเหนียวซึ่งเป็นโครงสร้างหลักของสแตนเลส 304 เลยทำให้มีการออกแบบเกรก 403 ขึ้นมา
สแตนเลสเกรด 202 (SUS202)
เป็นเกรดที่แม่เหล็กดูดไม่ติด ประกอบด้วย โครเมี่ยม ,นิเกิ้ล และแมงกานีส ส่วนใหญ่จะเห็นในงาน ผลิตสินค้า ฮาร์ดแวร์ ต่าง ๆ เช่น บานพับ และกลอนประตูเกรดล่าง ทนต่อสนิมน้อยกว่า 304 เหมาะกับงานภายในมากกว่านั้นเอง แถมราคาไม่แรงด้วย
โครงสร้างทุกแบบถูกสร้างขึ้นมาให้เหมาะสำหรับงานแต่ละประเภท สิ่งที่เราต้องทำคือการเลือกใช้งานให้เ
หมาะสมเพื่อดึงประสิทธิภาพของตัว สแตนเลสออกมาให้ได้ดีที่สุด การประหยัดงบและเปลี่ยนเกรด เป็นทางออกที่ไม่ค่อยแนะนำเท่าไหร่ แนะนำให้เลือกใช้งานแบบที่เหมาะสมที่สุด ไม่จำเป็นต้องดีมากเกินไป แต่ต้องเลือกให้เหมาะที่สุด