ลวดเชื่อม ที่ช่างเชื่อมนิยมใช้

ลวดเชื่อม ที่ช่างเชื่อมนิยมใช้

1. ลวดเชื่อมธูปหรือลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลั๊กซ์ (Covered Welding Electrode) เป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้งานกันมาก จะมีลักษณะคล้ายธูปด้านในเป็นลวดโลหะ เช่น ลวดเชื่อมเหล็ก และ ลวดเชื่อมสแตนเลส สามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม มีราคาที่ไม่แพง มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ 2.0 , 2.6 , 3.2 , 4.0 และ 5.0

2. ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire) เป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเป็นม้วนแกนกลวงบรรจุด้วยสารพอกอยู่ภายในลวด ต่างจากลวดเชื่อมธูปไฟฟ้าที่สารพอกจะอยู่ภายนอกลวดเชื่อม ลวดเชื่อมชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง แต่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมได้รวดเร็วและสวยงาม
ลวดเชื่อมฟลักซ์คอลล์ไวร์ ที่ไม่ต้องใช้แก๊ส CLIFF E71T-GS 0.8 mm/5KG
3. ลวดเชื่อมมิก (MIG) หรือลวดเชื่อม CO2 (MIG Welding Wire) เป็นลวดเชื่อมแบบลวดโลหะเปลือกไม่มีสารพอกหุ้มภายนอก แบบเปลือย มีลักษณะเป็นม้วน ข้อดีคือเชื่อมได้เร็ว ต้องใช้แก๊สซีโอทู Co2 (แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) มีลักษณะเป็นม้วน ข้อดีคือเชื่อมได้เร็ว และมีต้นทุนค่าลวดเชื่อมต่ำ ใช้ในอุตสาหกรรมงานประกอบเหล็กทั่วไป งานอุตสาหกรรมรถยนต์ และงานโครงสร้างทั่วไป

4. ลวดเชื่อมทิกหรือลวดเชื่อมอาร์กอน (Tig Welding Rod) มีลักษณะคล้ายลวดเชื่อมมิกคือเป็นลวดเชื่อมเปลือยเช่นเดียวกัน แต่จะมาแบบเป็นเส้นๆ แต่ละเส้นยาวประมาณ 1 เมตร ไม่ได้มาเป็นม้วนเหมือนลวดเชื่อมมิก แบบนี้นิยมใช้กับงานเชื่อมที่มีความละเอียด มีทั้งที่เป็น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส (308L , 309L , 310L , 316L) ทองเหลือง และโลหะอื่นๆ มีขนาดตั้งแต่ 1.6 , 2.0 , 2.4 และ 3.2 มม.

5. ลวดเชื่อมเซาะร่องหรือลวดเชื่อมเกาจ์ (Gouging Electrode) เป็นลวดเชื่อมแบบพิเศษที่มีไว้ใช้ในการกำจัดเนื้อโลหะที่เชื่อมไม่ได้คุณภาพให้ออกไปจากชิ้นงาน ลวดเชื่อมมีลักษณะกลม และสามารถใช้ทำความสะอาดแนวเชื่อมสำหรับเตรียมชิ้นงานก่อนเชื่อม โดยใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เหมาะสำหรับใช้ในการเซาะร่อง เจาะรู หรือ ใช้ในงานตัด

6. ลวดเชื่อมพิเศษ เป็นลวดเชื่อมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะตามงานเชื่อม เช่น ลวดเชื่อมทนแรงดึงสูง , ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง , ลวดเชื่อมอินโคเนล , ลวดเชื่อมไฟฟ้าอลูมิเนียม , ลวดเชื่อมนิกเกิลอัลลอยด์ , ลวดเชื่อมไฟฟ้าทองแดง และ ลวดเชื่อมประสาน เป็นต้น

หลักการเลือกลวดเชื่อมไฟฟ้า

1. ความแข็งแรงของชิ้นงาน

2. ส่วนผสมของโลหะชิ้นงาน จะต้องเลือกลวดเชื่อมที่มีส่วนผสมเหมือนกันกับโลหะชิ้นงาน

3. ชนิดของกระแสไฟที่ใช้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับกระแสไฟเชื่อม เพราะลวดเชื่อมบางชนิดจะเชื่อมได้ผลดีกับไฟกระแสตรงเท่านั้น หรือบางชนิดจะเชื่อมได้ผลดีกับไฟกระแสสลับเท่านั้น

4. ความหนาและรูปร่างของชิ้นงาน ควรเลือกใช้ลวดเชื่อมที่มีความเหนียวสูงกับงานที่มีความหนาและซับซ้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการแตกร้าว

ที่มา ::  https://www.wongtools.com/content/17729/