ความรู้เกี่ยวกับ มอเตอร์เกียร์

ความรู้เกี่ยวกับมอเตอร์เกียร์

เป็นอุปกรณ์ระบบส่งกำลังที่ติดตั้งรวมอยู่กับเกียร์รถหรือเครื่องจักรต่างๆ ช่วยให้ตัวเครื่องมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น

ข้อแนะนำ

  • ตรวจสอบการใช้ไฟฟ้า (1 เฟส 100 โวลต์ หรือ 3 เฟส 200 โวลต์)
  • ตรวจสอบขนาดมอเตอร์ (วัตต์)
  • ตรวจสอบความเร็วรอบ (รอบต่อนาที)
  • ตรวจสอบอัตราทด
  • ตรวจสอบว่ามอเตอร์เกียร์ดังกล่าวสามารถติดตั้งกับเครื่องจักรของท่านได้หรือไม่

แบบติดตั้งด้วยขาตั้งเพลาขนาน

 

แบบติดตั้งด้วยหน้าแปลนเพลาขนาน

 

แบบแกนตั้งฉาก

 

แบบที่มีคลัตช์เบรก

วิธีใช้งานมอเตอร์เกียร์

ควรเลือกประเภทมอเตอร์เกียร์ให้เหมาะกับจุดประสงค์การใช้งาน โดยพิจารณาเลือกจากขนาดวัตต์หรือกำลังแรงม้าของมอเตอร์ที่ต้องการใช้งาน, อัตราการทดรอบหรือรอบความเร็วที่ต้องการใช้งาน, รูปแบบลักษณะในการติดตั้ง และระบบไฟแบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส เป็นต้น ตรวจสอบว่ามอเตอร์เกียร์สามารถติดตั้งเข้ากับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ได้หรือไม่ โดยการเชื่อมต่อกระแสไฟและยึดสกรูให้แน่นหนา และตรวจสอบการทำงานได้ทันที

ประเภทมอเตอร์เกียร์

มอเตอร์เกียร์ตรง (Helical Gear Motor)

มอเตอร์เกียร์ตรง (Helical Gear Motor) ลักษณะภายในมีฟันเฟืองแบบเฉียงที่ให้คุณสมบัติสามารถลดรอบมอเตอร์และเพิ่มแรงบิดให้เหมาะสมกับงานหลายประเภท โดยมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบทั้งแบบขาตั้ง หน้าแปลน หรือแบบมอเตอร์เกียร์ 2 เพลาออก ซึ่งนิยมนำมาใช้งานในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมกันเป็นจำนวนมาก เช่น ประตูเลื่อนอัตโนมัติ, งานรอกยกของ และอีกมากมาย

มอเตอร์เกียร์แบบขาตั้ง (Parallel Shaft Gear Motor)

มอเตอร์เกียร์แบบขาตั้ง (Parallel Shaft Gear Motor) โครงสร้างภายนอกประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า กล่องเกียร์ และก้านเพลายื่นออกมา โดยที่ฝั่งเกียร์จะมีฐานเป็นขาตั้งที่ใช้สำหรับติดตั้งและยึดเข้ากับเครื่องจักรได้อย่างแน่นหนา ทำให้มอเตอร์เกียร์ทำงานได้แข็งแกร่งทนทาน และให้แรงบิดในการขับเคลื่อนสูง จึงเหมาะสำหรับงานส่งกำลังที่ใช้งานหนักอย่างต่อเนื่อง เช่น งานยก, งานลำเลียงสินค้า, ขับเคลื่อนเครื่องจักร เป็นต้น

มอเตอร์เกียร์แบบหน้าแปลน (Flange Shaft Gear Motor)

มอเตอร์เกียร์แบบหน้าแปลน (Flange Shaft Gear Motor) มีลักษณะเด่นบริเวณฝั่งก้านเพลาที่อยู่ตรงกลางด้านข้างจะยื่นออกมาเพื่อใช้รองรับการทำงานร่วมกับมอเตอร์หรือเครื่องยนต์ได้ในตัว ทำให้มอเตอร์เกียร์แบบหน้าแปลนสามารถส่งแรงบิดสูงได้เต็มกำลัง ทำงานเงียบ และสะดวกในการติดตั้งใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร จึงเหมาะสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรมหนักและเบาทุกชนิด เช่น งานยก, สายพานลำเลียงสินค้า เป็นต้น

มอเตอร์เกียร์แพลนเนตตารี่ (Planetary Gear Motor)

มอเตอร์เกียร์แพลนเนตตารี่ (Planetary Gear Motor) โครงสร้างถูกออกแบบมาให้ส่งถ่ายกำลังจากชุดฟันเฟืองที่เคลื่อนที่รอบแกนของฟันเฟืองตัวอื่นและในขณะเดียวกันก็จะหมุนรอบตัวเองด้วย ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่สามารถถ่ายโอนน้ำหนักระหว่างการใช้งานได้ดี และมีประสิทธิภาพในการระบายความร้อน จึงเป็นที่นิยมใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมและเครื่องยนต์กันอย่างแพร่หลาย

มอเตอร์เกียร์ 2 เพลาออก (Reducer Double Shaft Gear Motor)

มอเตอร์เกียร์ 2 เพลาออก (Reducer Double Shaft Gear Motor) หรือมอเตอร์เกียร์ 2 เพลา จะมีลักษณะโดดเด่นที่ก้านเพลาจะยื่นออกมาจากหัวเกียร์ทั้งสองด้าน คือ ด้านข้างหรือด้านบน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ต้านทานต่อแรงกระแทกและการสึกหรอ ทำให้สามารถใช้ในระบบการทำงานที่ซับซ้อนได้ดี โดยมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบขาตั้งและแบบหน้าแปลน จึงเหมาะสำหรับใช้ติดตั้งเข้ากับยอย (Couping), โซ่เฟือง, สายพานลำเลียง เป็นต้น

 

ที่มา ::  https://th.misumi-ec.com/th/pr/recommend_category/gear_motor/